Turtle Tanawan ;
Come and see IDEA and my Imagination.
nice to meet you :)

Sunday, September 12

Gingle Bread style

เรือนขนมปังขิง (Gingle Bread Style)

เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงามเหมือนขนมปังขิง

คำว่า ขนมปังขิง มาจากภาษาอังกฤษว่า "Gingerbread" ซึ่งเป็นขนมปังขิงของชาวยุโรป ซึ่งตกแต่งลวดลายสวยงาม มีลักษณะหงิกงอเป็นแง่งคล้ายขิง จึงใช้เป็นคำเรียกลวดลายทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในสมัยพระนางเจ้าวิกตอเรียที่ 2 แห่งอังกฤษ


ประวัติความเป็นมา

ก่อนหน้าที่คนจีนที่อพยพมาหากินในประเทศไทย ได้นำวิธีการก่อสร้างเรือนแถวที่เป็นดินมาก่อสร้างที่อยู่อาศัยกันก่อน แต่ด้วยรูปแบบวิธีการนั้นคนไทยไม่นิยม จึงไม่แพร่หลาย มีเพียงชาวจีนเท่านั้นที่สร้างอยู่กันเอง และก็สูญหายไปในที่สุด แต่เรือนปั้นหยา เป็นเรือนสมัยใหม่ที่รับอิทธิพลจากต่างชาติทางตะวันตกนั้น เริ่มต้นจากที่รัชกาลที่ 4 ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและติดต่อค้าขายกับต่างชาติ และทรงสร้างเรือนปั้นหยาไว้ในเขตพระราชวังต่างๆก่อน จากเรือนปั้นหยาก็วิวัฒนาการมาเป็นเรือนมนิลา มีจั่วด้านหน้า 1 ด้าน และชายคาคลุม 3 ด้า คือ บางส่วนเป็นเรือนหลังคาปั้นหยาแล้วเปิดบางส่วนให้มีหน้าจั่ว ในสมัยที่เรือนแบบมะนิลา(ซึ่งคงจะแพร่หลายมาจากเมืองมะนิลา)เข้ามาสู่ความนิยมอย่างแพร่หลาย อันตรงกับสมัยที่สถาปัตยกรรมแบบเรือนขนมปังขิง(Ginger Bread)แพร่หลายเข้ามาด้วย
ลักษณะเรือนขนมปังขิงนี้เป็นชื่อเรียกสากลทับศัพท์ว่า"จินเจอร์ เบรด"อันมีที่มาจากขนมปังขิงสมัยโบราณของชาวตะวันตก ซึ่งตบแต่งหรูหราฟู่ฟ่า มีครีบระบายแพรวพราว เรือนมะนิลาหรือเรือนขนมปังขิงก็ดี ซึ่งผสมกันอันมีส่วนประกอบด้วยลายฉลุอย่างงดงาม เป็นเรือนที่ผู้คนส่วนใหญ่สนใจ และศิลปะลวดลายหรูหราเป็นลายแกะสลัก ฉลุแบบขนมปังขิง เช่น ตู้และเฟอร์นิเจอร์กับการตกแต่งภายใน นิยมสร้างในหมู่คหบดี ขุนนาง และชนชั้นกลางทั่วไป

บ้านขนมปังขิงเป็นบ้านในสไตล์วิคตอเรี่ยน เกิดขึ้นในยุค

ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เริ่มจากบ้านพักของสถานทูตฝรั่งเศส ที่มีความงดงามด้วยฉลุไม้ และมีระเบียงร่มเย็น จากนั้นความนิยมก็ส่งผลมาถึงในวัง และวัดวาอาราม ความนิยมก็มาสู่พ่อค้า คหบดี ในช่วงนั้นกรุงเทพฯ ก็จะมีบ้านในสไตล์นี้สร้างตามกันมามากมาย รวมทั้งรูปแบบที่เน้นการประดับลวดลายฉลุไม้ ที่เรียกว่า เรือนขนมปังขิง


บ้านสไตล์วิคตอเรี่ยน

ลักษณะเฉพาะของเรือนขนมปังขิง

เรือนขนมปังขิง มีลักษณะเด่นที่ทำให้เราจดจำได้ดีคือ บ้านหลังคาติดลูกไม้ฉลุ ที่รับอิทธิพลจากบ้าน Ginger Bread Style ที่งดงามด้วยลายฉลุไม้ ที่ตรงกับรสนิยมคนไทย ที่ชอบความละเอียด ประณีต อ่อนช้อยอยู่แล้ว ประกอบกับวัสดุที่เป็นไม้ก็มีมากมาย ช่างไม้ก็มีฝีมือในการออกแบบและฉลุลาย บางหลังก็มีการดัดแปลงเป็นลายไทยแทนลายฝรั่ง บ้านแบบนี้จึงได้รับความนิยมอย่างสูง มาตั้งแต่นั้น นอกจากบ้านแล้ว งานในลักษณะนี้ยังมีการดัดแปลงมาทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆอีกด้วย

ยุคที่เรือนขนมปังขิงเฟื่องฟูมากๆ ซุ้มประตูแบบมีหลังคาทรงไทย ก็ยังถูกละเลย มาทำลวดลายฉลุกัน แบบไม่กลัวแดด ฝน กันเลย



ภายในบ้าน การใช้ลวดลายฉลุ ตามเหนือประตู หรือช่องลม นับว่ามีประโยชน์ใช้สอยได้ดี เหมาะสมกับอากาศของบ้านเรา ช่องลมระบายอากาศแบบนี้ก็ถูกละเลย สูญหายไปจากบ้านไทยสมัยใหม่เช่นกัน ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว แล้วก็มาแก้กันปลายเหตุ คือติดแอร์กัน เปลืองค่าไฟไปอีก

จนถึงช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ความนิยมก็เริ่มซาลง ไม้เริ่มมีราคาแพงขึ้น ความนิยมเริ่มเปลี่ยนไป เป็นเน้นการออกแบบหลังคาซ้อน หรือจั่วตัดแทน จนในสมัยรัชกาลที่ 7 บ้านก็เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ มีรูปแบบเรียบง่าย ลดความหรูหราฟุ่มเฟือยออก ก็คงจะอิทธิพลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของทางตะวันตกนั่นเอง และการเปลี่ยนแปลงก็ยังมีเรื่อยมา จนในสมัยนี้บ้านขนมปังขิงที่หลงเหลืออยู่บ้าง ก็ทรุดโทรม รื้อถอนไปมาก จนหาชมได้ยาก เพราะความเจริญรุกรานมาเรื่อย การบูรณะซ่อมแซม ทำยากและค่าใช้จ่ายสูง จนไม่คุ้มที่จะเก็บรักษาหรืออนุรักษ์ไว้ใช้งาน แต่บ้านที่ยังหลงเหลืออยู่นั้น คนสมัยนี้ที่ไม่รู้ประวัติ ก็จะคิดว่าเป็นบ้านไทยโบราณแบบหนึ่ง


เรือนขนมปังขิงในปัจจุบัน

ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมประเภทวัง

วังบางพลู วังเก่าเป็นวังของพระพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช ตั้งอยู่เชิงสะพานกรุงธนบุรี ฝั่งธนบุรีติดกับ โรงแรม ริอเวอร์ไซด์ ในปัจจุบัน วังนี้ สร้างในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยังคงความงามของสถาปัตยกรรมใน3ยุคสมัยคือ ตำหนักทรงไทยครั้งรัชกาลที 4 ตำหักไม้ฉลุแบบวิคตอเรียนในสมัยรัชกาลที่ 5 และ เรือนขนมปังขิง(Ginger Bread) ในสมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบัน ยังเป็นที่อยู่ของทายาทในราชสกุลสนิทวงศ์ และ เป็นอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
พระที่นั่งวิมานเมฆ


พระที่นั่งองค์นี้ เป็นอาคารแบบวิตอเรีย ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมยุโรป ผสมกับไทยประยุกต์ องค์พระที่นั่งเป็นรูปอักษรตัวแอล (L) ในภาษาอังกฤษ เป็นอาคาร 3 ชั้น ยกเว้นตรงส่วนที่ประทับซึ่งมีรูปร่างเป็นแปดเหลี่ยม มี 4 ชั้น ชั้นล่างสุดก่ออิฐ ถือปูน ชั้นถัดขึ้นไปสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหมดทาด้วยสีครีมอ่อนหลังคาสีแดง และหลังคาเป็นทรงไทยประยุกต์ มีลวดลายตามหน้าต่าง และช่องลมซึ่งฉลุเป็นลายที่เรียกว่าขนมปังขิง

ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมประเภทบ้าน

ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครในแถบย่านเสาชิงช้า ยังพอมีร่องรอยของบ้านสไตล์วิคตอเรี่ยนที่ตกแต่งด้วยลวดลาย

ขนมปังขิงให้เห็นอยู่บ้าง


ตัวอย่างบ้านสไตล์วิคตอเรี่ยนที่ตกแต่งด้วยลวดลายแบบขนมปังขิง แถบย่านบางลำพู ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน


บ้านหลังนี้ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเอาไว้

ซึ่งบ้านหลังนี้อยู่

ใกล้กับเสาชิงช้า เยื้องกับศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

รูปแบบบ้านขนมปังขิง ยังได้รับความนิยมกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่มีการพัฒนารูปแบบให้มีความเป็นสากลและร่วมสมัยยิ่งขึ้น ตัดทอนลวดลายให้น้อยลง เปลี่ยนวัสดุและวิธีการให้ง่ายขึ้น เช่นการใช้ไม้เทียมปั๊มลายสำเร็จรูปออกมา ได้ทีเป็น 100 เป็น 1000 ไม่ได้นั่งฉลุทีละอันอย่างแต่ก่อน ซึ่งคนที่ชอบบ้านลักษณะนี้ก็นับว่ามีรสนิยมย้อนยุค และชื่นชมความละเอียดอ่อนช้อยพอสมควร

รูปแบบของบ้านขนมปังขิง ที่ลวดลายอลังการอ่อนช้อย สำหรับบ้านเรานั้นต่อไปก็คงจะหาชมได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการอนุรักษ์นั้น ทำได้ยากอย่างที่ว่า แต่ถ้าเป็นเมืองนอกโดยเฉพาะในอเมริกานั้น ยังมีคนคลั่งใคล้บ้านแบบนี้กันอยู่มาก แนวทางหนึ่งที่เขาอนุรักษ์บ้านแบบนี้ไว้ได้ คือเขาดัดแปลงเป็นเกสต์เฮ้าส์ หรือโรงแรม เพราะเป็นจุดขายอย่างดี ทั้งยังเป็นการหารายได้จากการอนุรักษ์ได้อีกด้วย

ข้อมูลและภาพบางส่วนจาก
แบบแผนบ้านเรือนในสยาม โดย น.ณ ปากน้ำ , สำนักพิมพ์เมืองโบราณ
America’s Painted Ladies , Dutton Studio Books , 1992