Turtle Tanawan ;
Come and see IDEA and my Imagination.
nice to meet you :)

Sunday, October 10

บทสัมภาษณ์ คุณอินทศักดิ์ นฤภัย กรรมการบริหาร บริษัท Four Aces Consultants Co., Ltd.


ชื่อ : คุณอินทศักดิ์ นฤภัย
วุฒิการศึกษา : สถ.บ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2520 (รุ่นที่ 1)





สถานะทางวิชาชีพ
- สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระราชูปถัมภ์
- สามัญสถาปนิก สาขาสถาปัตยกรรมหลัก
สสถ.1335

ประวัติการทำงาน
2530-ปัจจุบัน กรรมการบริหาร บริษัท สำนักงานโฟร์เอส จำกัด
2529-2530 หัวหน้าฝ่ายเขียนแบบและตรวจงานก่อสร้าง บริษัท สำนักงานโฟร์เอส จำกัด
2524-2529 สถาปนิกตรวจงานก่อสร้าง บริษัท สำนักงานโฟร์เอส จำกัด
2521-2524 สถาปนิกควบคุมงานก่อสร้าง บริษัท สำนักงานโฟร์เอส จำกัด
2520 สถาปนิก บริษัท จตุนิก จำกัำด

6 ตุลาคม 2553

Location : ออฟฟิศFourAces (ทองหล่อ ซ.13)

นัดสัมภาษณ์ พี่ปู้ด อินทศักดิ์ นฤภัย รุ่นพี่ สถาปัตย์ ลาดกระบัง รุ่นที่1

15.40 น.

พี่ปู้ดเป็นพี่ที่ออฟฟิศ โฟร์เอส ที่ได้มีโอกาสไปฝึกงานเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่เพิ่งรู้ว่าพี่ปู้ดเป็นรุ่นที่1 ของลาดกระบัง ตั้งแต่เริ่มตั้งเป็นสจล.^^

สวัสดีพี่ปู้ดนะคะ วันนี้เติ้ลขอรบกวนเวลาพี่ซัก10นาที อยากให้พี่ปู้ดเล่าถึงประวัติส่วนตัวคร่าวๆซักเล็กน้อยค่ะ

พี่ปู้ดทำงานที่นี่มานานรึยังคะ?

พี่ก็ทำงานที่นี่มาตั้งแต่จบ เมื่อประมาณปี21 ปีนี้ปี53 ก็ประมาณ 30ปีละ ตอนนั้นลาดกระบังเป็นรุ่นแรกที่จัดให้มีการสอบเข้ามหาลัย เป็นพระจอมเกล้า ลาดกระบัง แต่ก็จะมีรุ่นพี่ที่เรียนเป็นวิทยาลัยก่อสร้างเก่าอีก 3 รุ่น ก็จะมีรุ่นพี่เก่ามาเป็นพี่ว๊ากเกอร์ เวลามีเชียร์ มีมาช่วยงานน้องๆ ซึ่งตอนนี้ก็ยังเจอกันอยู่บ่อยๆ

แล้วเป็นมายังไงถึงมาทำงานที่โฟร์เอสได้คะ?

ก็คือ ตอนแรกที่มาสมัครเนี่ย ก็ทำพวกควบคุมงาน ซึ่งตอนนั้นเป็นงานราชการ เค้าให้ออกแบบแล้วก็ควบคุมงานด้วย ซึ่งเป็นงานต่างจังหวัด เป็นงานหอพักของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นงานทางใต้ ซึ่งส่วนใหญ่สถาปนิกไม่ค่อยมีคนอยากไป ตอนแรกก็ทำเรื่องแบบอยู่ที่ออฟฟิศ แล้วตอนหลังก็ลงไปคุมงานที่ไซท์อยู่3ปี แล้วก็ค่อยกลับมาที่ออฟฟฟิศอีกที

อยู่ที่โฟร์เอสก็ไม่ค่อยได้ทำเรื่องการออกแบบ ส่วนใหญ่จะทำเรื่องการคุมงาน เพราะเวลาบริษัทออกแบบที่ไหนไม่ว่าจะเป็นบ้านหรืออาคารต่างๆ พี่จะเป็นคนไปดู ซึ่งหน้าที่ของผู้ออกแบบอย่างหนึ่งหลังจากออกแบบเสร็จแล้วก็คือการ ติดตามงาน ว่างานมีปัญหาอะไรรึเปล่า ปกติก็จะอยู่ออฟฟิศ บางทีเค้าก็จะโทรมาถามบ้างหรือบางทีเราก็ไปตรวจบ้าง เพราะเราไม่ใช่ผู้ควบคุมงาน ทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบแต่เป็นฝ่ายควบคุมงาน ก็ทำอย่างนั้นอยู่หลายปี แล้วก็มาทำเรื่องspec วัสดุ แล้วก็ทำราคา คือมันต้องมีความรู้เรื่องวัสดุแล้วเอามาทำราคา ซึ่งก็ได้จากที่เรียนมา ตอนนั้นอาจารย์อัศวินเป็นคนสอน ก็ทำเรื่องนี้มาตลอดอยู่10กว่าปี โฟร์เอสเค้าก็ตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร มาจนถึงปัจจุบัน

แล้วปัจจุบันนี้ทำอะไรบ้างคะ?

ก็ยังทำเหมือนเดิม ก็พวกควบคุมงาน ดูเรื่องการspecรายละเอียดต่างๆ การประมาณราคา ดูแลพวกที่คุมงานตามไซท์ เป็นผู้ตรวจสอบงาน ผู้ผู้ตรวจสอบงาน นี่ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะงานจะได้ออกมาตามที่ผู้ออกแบบต้องการ ซึ่งตอนนี้ก็ทำบ้านอยู่หลายหลัง เจ้าของบ้านเค้าก็อยากให้มีผู้ตรวจสอบงาน

แล้วงานที่พี่ทำมีอุปสรรคในการทำงานบ้างมั๊ยคะ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย?

ก็สมัยนี้จบกันมาเยอะ ก็จะแย่งงานกันทำ งานก็หายากขึ้น ราคาก็จะได้น้อยลง

แล้วเศรษฐกิจนี่มีผลกับการทำงานมั๊ยคะ?

มีผลครับ มีผลมาก งานออกแบบก็จะน้อยลง โดยเฉพาะงานใหญ่ๆ ก็ช่วงนี้มีแต่งานเล็ก งานใหญ่ๆเค้าก็ไม่กล้ามาลงทุน ส่วนใหญ่จะเป็นของชาวต่างชาติ เมื่อต้นปีบริษัทได้งานของบริษัทหนึ่งมา ช่วงจังหวะต้นปีพอดีที่มีปัญหา

ใช่โรงแรมที่หนูตัดโมไว้เมื่อตอนที่ฝึกงานรึป่าวคะ?

ใช่ นั่นแหละ ตอนนี้เค้าก็หยุดโครงการไปแล้ว เค้าก็คงรอดูสถานการณ์บ้านเมืองเรา มันเป็นผลกระทบเรื่องการท่องเที่ยวไง การออกแบบมีผลต่อการท่องเที่ยว ถ้านักท่องเที่ยวไม่มาเค้าก็ไม่กล้าตัดสินใจลงทุน อย่างช่วงหลังๆเนี่ย เรามีงานรีสอร์ทเยอะ แต่ช่วงนี้ก็น้อยลง แล้วตอนนี้ที่จะเห็นก็คือคอนโด เพราะว่าเค้าจะอาศัยทำเลใกล้รถไฟฟ้า ซึ่งที่อยู่ไกลๆก็คงจะขายไม่ได้

ตัวอย่างผลงานในความรับผิดชอบ

ฺBank of Agriculture and Agriculture corporative
25-storey Headquater Building

Location : Phahonyothin Road (Kaset Junction) Bangkok
Owner : Bank of Agriculture and Agriculture corporative
year of Completion : 2010
Buildind area : 65,025 Sq.m.
Project cost : 1,288 million Bath





CHULAPORN WALAILUCK BUILDING, FACULTY OF SCIENCE
KING MONGKUT INSTITUTE OF TECHNOLOGY LADKRABANG

Location : Ladkrabang

Owner : King Mongkut Institute

Year of Completion : 2001

Building Area : 4,685 sq.m.

Project Cost : 50.6 million Baht

4-storey Multi-function Building consisting Office, Canteen, Lecture Rooms and Laboratories

OFFICE OF ACADEMIC SERVICE, PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

Award-Winning Design Competition 1998

Location : Phuket Campus
Owner : Prince of Songkla University
Year of Completion : 1999

Building Area : 13,460 sq.m.
Project Cost : 170 million Baht
4-storey complex buildings consisting Library & Archive, Seminar,Audio-visual Technologies Center, Broad casting Studio, Multimedia & Computer class, Adminstrative Office etc.


จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา พี่มีข้อคิดในการทำงานอะไรบ้างคะ?

ก็คงเป็นเรื่องของการทำงานโดยยึดถือจรรยาบรรณเป็นหลัก ถ้าทุกคนทำหน้าที่ตามนั้นมันก็จะไม่เกิดปัญหา มันก็น่าจะช่วยไม่ให้มีการแข่งขันมากเกินไป คืออยากให้แข่งขันกันที่ความสามารถ ฝีมือ ไม่ใช่ราคา ควรที่จะยึดค่าFEEตามมาตรฐาน

แล้วก็เดี๋ยวนี้มีออฟฟิศหลายแห่งเกิดใหม่ ส่วนใหญ่ที่ไม่มีประสบการณ์เค้าก็จะอาศัยการพรีเซนต์ให้มันสวย แต่สุดท้ายเราเจอหลายงานแล้ว คือมันสร้างแล้วไม่สำเร็จ เพราะยังขาดปรสบการณ์ยังไม่รู้หลักการทำงานมากพอ

พี่มีอะไรแนะนำเกี่ยวกับเด็กจบใหม่ในการทำงานบ้างรึเปล่าคะ ?

คืออยากแนะนำว่าวิธีการที่จะทำงานให้สำเร็จได้เนี่ย เราต้องดูงานนั้นจนจบ ต้องรู้ปัญหานั้นจนจบ จนงานสร้างเสร็จ ขั้นสุดท้ายของงานเนี่ย คือเราควรจะไปช่วยเจ้าของงานตรวจดูความเรียบร้อยจนจบ เพื่อจะปิดงานให้เค้าได้

ขอถามเกี่ยวกับความคิดเห็นพี่เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ?

ก็เวลาเราไปเสนองานราชการเนี่ย เราก็จะเจอปัญหาอย่างหนึ่งว่า ทางหน่วยงานราชการไม่รู้ค่าFEE คือเค้าจะยึดราคาต่ำสุดเป็นหลัก คือเราจะยึดจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นหลัก โดยเฉพาะข้อ23 เรื่องผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่แสวงหางานด้วยการแข่งขันด้วยวิธีประกวดราคา ควรจะแข่งขันกันที่ฝีมือ เรื่องการออกแบบที่เจ้าของควรจะพอใจดีกว่า คือตอนแรกเนี่ยเค้าจะมีซองเพื่อพรีเซนต์ผลงานของบริษัท ว่ามีความสามารถในการทำงานแค่ไหน ควรจะดูจากตรงนั้นมากกว่า

สุดท้ายแล้ว อยากให้พี่ฝากอะไรถึงน้องๆที่กำลังจะจบหน่อยค่ะ?

ก้ออยากฝากว่า ช่วงนี้ก็ต้องออกมาหาประสบการณ์เยอะๆ คือทำงานอะไรต้องเรียนรู้ทำให้จบ คือตอนนี้เราเรียนมาเพื่อรู้แนวทางว่าต้องทำยังไง เสร็จแล้วพอถึงเวลาที่ออกแบบก่อสร้าง เราก็ต้องเรียนรู้เพิ่มอีก ทั้งในเรื่องของวัสดุ ราคา ผู้ที่เกี่ยวข้อง การspecต่างๆ

ซึ่งตอนนี้ผมทำเรื่องspecให้กับสมาคม ฝากประชาสัมพันธ์ด้วยเลยละกัน ตอนนี้ทางสมาคมกำลังจะเปิดอบรมวันที่ 31ตุลาคมนี้ เกี่ยวกับเรื่องการspecวัสดุ คือเค้าจะทำformatให้เหมือนกับฝรั่ง อันนี้ก็คืองานนึงที่เราควรคำนึงถึงให้ดี เพราะงานออกแบบที่ดีมีความเกี่ยวข้องกับการspecวัสดุเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

วันนี้ก็ขอรบกวนเวลา พี่ปู้ดแค่นี้ละกันนะคะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลและข้อคิดดีๆเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการประกอบวิชาชีพ เพื่อสถาปนิกที่ดีของสังคมต่อไปค่ะ^^

Turtle Tanawan | Create Your Badge


Sunday, September 12

Gingle Bread style

เรือนขนมปังขิง (Gingle Bread Style)

เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงามเหมือนขนมปังขิง

คำว่า ขนมปังขิง มาจากภาษาอังกฤษว่า "Gingerbread" ซึ่งเป็นขนมปังขิงของชาวยุโรป ซึ่งตกแต่งลวดลายสวยงาม มีลักษณะหงิกงอเป็นแง่งคล้ายขิง จึงใช้เป็นคำเรียกลวดลายทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในสมัยพระนางเจ้าวิกตอเรียที่ 2 แห่งอังกฤษ


ประวัติความเป็นมา

ก่อนหน้าที่คนจีนที่อพยพมาหากินในประเทศไทย ได้นำวิธีการก่อสร้างเรือนแถวที่เป็นดินมาก่อสร้างที่อยู่อาศัยกันก่อน แต่ด้วยรูปแบบวิธีการนั้นคนไทยไม่นิยม จึงไม่แพร่หลาย มีเพียงชาวจีนเท่านั้นที่สร้างอยู่กันเอง และก็สูญหายไปในที่สุด แต่เรือนปั้นหยา เป็นเรือนสมัยใหม่ที่รับอิทธิพลจากต่างชาติทางตะวันตกนั้น เริ่มต้นจากที่รัชกาลที่ 4 ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและติดต่อค้าขายกับต่างชาติ และทรงสร้างเรือนปั้นหยาไว้ในเขตพระราชวังต่างๆก่อน จากเรือนปั้นหยาก็วิวัฒนาการมาเป็นเรือนมนิลา มีจั่วด้านหน้า 1 ด้าน และชายคาคลุม 3 ด้า คือ บางส่วนเป็นเรือนหลังคาปั้นหยาแล้วเปิดบางส่วนให้มีหน้าจั่ว ในสมัยที่เรือนแบบมะนิลา(ซึ่งคงจะแพร่หลายมาจากเมืองมะนิลา)เข้ามาสู่ความนิยมอย่างแพร่หลาย อันตรงกับสมัยที่สถาปัตยกรรมแบบเรือนขนมปังขิง(Ginger Bread)แพร่หลายเข้ามาด้วย
ลักษณะเรือนขนมปังขิงนี้เป็นชื่อเรียกสากลทับศัพท์ว่า"จินเจอร์ เบรด"อันมีที่มาจากขนมปังขิงสมัยโบราณของชาวตะวันตก ซึ่งตบแต่งหรูหราฟู่ฟ่า มีครีบระบายแพรวพราว เรือนมะนิลาหรือเรือนขนมปังขิงก็ดี ซึ่งผสมกันอันมีส่วนประกอบด้วยลายฉลุอย่างงดงาม เป็นเรือนที่ผู้คนส่วนใหญ่สนใจ และศิลปะลวดลายหรูหราเป็นลายแกะสลัก ฉลุแบบขนมปังขิง เช่น ตู้และเฟอร์นิเจอร์กับการตกแต่งภายใน นิยมสร้างในหมู่คหบดี ขุนนาง และชนชั้นกลางทั่วไป

บ้านขนมปังขิงเป็นบ้านในสไตล์วิคตอเรี่ยน เกิดขึ้นในยุค

ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เริ่มจากบ้านพักของสถานทูตฝรั่งเศส ที่มีความงดงามด้วยฉลุไม้ และมีระเบียงร่มเย็น จากนั้นความนิยมก็ส่งผลมาถึงในวัง และวัดวาอาราม ความนิยมก็มาสู่พ่อค้า คหบดี ในช่วงนั้นกรุงเทพฯ ก็จะมีบ้านในสไตล์นี้สร้างตามกันมามากมาย รวมทั้งรูปแบบที่เน้นการประดับลวดลายฉลุไม้ ที่เรียกว่า เรือนขนมปังขิง


บ้านสไตล์วิคตอเรี่ยน

ลักษณะเฉพาะของเรือนขนมปังขิง

เรือนขนมปังขิง มีลักษณะเด่นที่ทำให้เราจดจำได้ดีคือ บ้านหลังคาติดลูกไม้ฉลุ ที่รับอิทธิพลจากบ้าน Ginger Bread Style ที่งดงามด้วยลายฉลุไม้ ที่ตรงกับรสนิยมคนไทย ที่ชอบความละเอียด ประณีต อ่อนช้อยอยู่แล้ว ประกอบกับวัสดุที่เป็นไม้ก็มีมากมาย ช่างไม้ก็มีฝีมือในการออกแบบและฉลุลาย บางหลังก็มีการดัดแปลงเป็นลายไทยแทนลายฝรั่ง บ้านแบบนี้จึงได้รับความนิยมอย่างสูง มาตั้งแต่นั้น นอกจากบ้านแล้ว งานในลักษณะนี้ยังมีการดัดแปลงมาทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆอีกด้วย

ยุคที่เรือนขนมปังขิงเฟื่องฟูมากๆ ซุ้มประตูแบบมีหลังคาทรงไทย ก็ยังถูกละเลย มาทำลวดลายฉลุกัน แบบไม่กลัวแดด ฝน กันเลย



ภายในบ้าน การใช้ลวดลายฉลุ ตามเหนือประตู หรือช่องลม นับว่ามีประโยชน์ใช้สอยได้ดี เหมาะสมกับอากาศของบ้านเรา ช่องลมระบายอากาศแบบนี้ก็ถูกละเลย สูญหายไปจากบ้านไทยสมัยใหม่เช่นกัน ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว แล้วก็มาแก้กันปลายเหตุ คือติดแอร์กัน เปลืองค่าไฟไปอีก

จนถึงช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ความนิยมก็เริ่มซาลง ไม้เริ่มมีราคาแพงขึ้น ความนิยมเริ่มเปลี่ยนไป เป็นเน้นการออกแบบหลังคาซ้อน หรือจั่วตัดแทน จนในสมัยรัชกาลที่ 7 บ้านก็เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ มีรูปแบบเรียบง่าย ลดความหรูหราฟุ่มเฟือยออก ก็คงจะอิทธิพลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของทางตะวันตกนั่นเอง และการเปลี่ยนแปลงก็ยังมีเรื่อยมา จนในสมัยนี้บ้านขนมปังขิงที่หลงเหลืออยู่บ้าง ก็ทรุดโทรม รื้อถอนไปมาก จนหาชมได้ยาก เพราะความเจริญรุกรานมาเรื่อย การบูรณะซ่อมแซม ทำยากและค่าใช้จ่ายสูง จนไม่คุ้มที่จะเก็บรักษาหรืออนุรักษ์ไว้ใช้งาน แต่บ้านที่ยังหลงเหลืออยู่นั้น คนสมัยนี้ที่ไม่รู้ประวัติ ก็จะคิดว่าเป็นบ้านไทยโบราณแบบหนึ่ง


เรือนขนมปังขิงในปัจจุบัน

ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมประเภทวัง

วังบางพลู วังเก่าเป็นวังของพระพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช ตั้งอยู่เชิงสะพานกรุงธนบุรี ฝั่งธนบุรีติดกับ โรงแรม ริอเวอร์ไซด์ ในปัจจุบัน วังนี้ สร้างในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยังคงความงามของสถาปัตยกรรมใน3ยุคสมัยคือ ตำหนักทรงไทยครั้งรัชกาลที 4 ตำหักไม้ฉลุแบบวิคตอเรียนในสมัยรัชกาลที่ 5 และ เรือนขนมปังขิง(Ginger Bread) ในสมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบัน ยังเป็นที่อยู่ของทายาทในราชสกุลสนิทวงศ์ และ เป็นอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
พระที่นั่งวิมานเมฆ


พระที่นั่งองค์นี้ เป็นอาคารแบบวิตอเรีย ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมยุโรป ผสมกับไทยประยุกต์ องค์พระที่นั่งเป็นรูปอักษรตัวแอล (L) ในภาษาอังกฤษ เป็นอาคาร 3 ชั้น ยกเว้นตรงส่วนที่ประทับซึ่งมีรูปร่างเป็นแปดเหลี่ยม มี 4 ชั้น ชั้นล่างสุดก่ออิฐ ถือปูน ชั้นถัดขึ้นไปสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหมดทาด้วยสีครีมอ่อนหลังคาสีแดง และหลังคาเป็นทรงไทยประยุกต์ มีลวดลายตามหน้าต่าง และช่องลมซึ่งฉลุเป็นลายที่เรียกว่าขนมปังขิง

ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมประเภทบ้าน

ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครในแถบย่านเสาชิงช้า ยังพอมีร่องรอยของบ้านสไตล์วิคตอเรี่ยนที่ตกแต่งด้วยลวดลาย

ขนมปังขิงให้เห็นอยู่บ้าง


ตัวอย่างบ้านสไตล์วิคตอเรี่ยนที่ตกแต่งด้วยลวดลายแบบขนมปังขิง แถบย่านบางลำพู ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน


บ้านหลังนี้ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเอาไว้

ซึ่งบ้านหลังนี้อยู่

ใกล้กับเสาชิงช้า เยื้องกับศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

รูปแบบบ้านขนมปังขิง ยังได้รับความนิยมกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่มีการพัฒนารูปแบบให้มีความเป็นสากลและร่วมสมัยยิ่งขึ้น ตัดทอนลวดลายให้น้อยลง เปลี่ยนวัสดุและวิธีการให้ง่ายขึ้น เช่นการใช้ไม้เทียมปั๊มลายสำเร็จรูปออกมา ได้ทีเป็น 100 เป็น 1000 ไม่ได้นั่งฉลุทีละอันอย่างแต่ก่อน ซึ่งคนที่ชอบบ้านลักษณะนี้ก็นับว่ามีรสนิยมย้อนยุค และชื่นชมความละเอียดอ่อนช้อยพอสมควร

รูปแบบของบ้านขนมปังขิง ที่ลวดลายอลังการอ่อนช้อย สำหรับบ้านเรานั้นต่อไปก็คงจะหาชมได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการอนุรักษ์นั้น ทำได้ยากอย่างที่ว่า แต่ถ้าเป็นเมืองนอกโดยเฉพาะในอเมริกานั้น ยังมีคนคลั่งใคล้บ้านแบบนี้กันอยู่มาก แนวทางหนึ่งที่เขาอนุรักษ์บ้านแบบนี้ไว้ได้ คือเขาดัดแปลงเป็นเกสต์เฮ้าส์ หรือโรงแรม เพราะเป็นจุดขายอย่างดี ทั้งยังเป็นการหารายได้จากการอนุรักษ์ได้อีกด้วย

ข้อมูลและภาพบางส่วนจาก
แบบแผนบ้านเรือนในสยาม โดย น.ณ ปากน้ำ , สำนักพิมพ์เมืองโบราณ
America’s Painted Ladies , Dutton Studio Books , 1992